มาตรฐาน ว 4.2 เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ชั่วโมง
ผลการเรียนรู้
1. พัฒนาแอปพลิเคชันที่มีการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ จำนวน 6 ชั่วโมง
2. พัฒนาแอปพลิเคชันที่มีการสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ จำนวน 4 ชั่วโมง
สื่อการสอน หนังสือเรียนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (สสวท.) บทที่ 2 สร้างสรรค์ผลงานด้วยภาษาไพทอน
ผลการเรียนรู้ 1. พัฒนาแอปพลิเคชันที่มีการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ ชั่วโมงที่ 1-2
จุดประสงค์การเรียนรู้
วิเคราะห์ฟังก์ชันภาษาไพทอนที่ใช้ดำเนินการโครงสร้างข้อมูลของ Pandas
เขียนโปรแกรมภาษาไพทอนที่ใช้ดำเนินการโครงสร้างข้อมูลของ Pandas
จิตวิทยาศาสตร์ (เพียรพยายาม มีเหตุผล ละเอียดรอบคอบ)
สาระการเรียนรู้ การประมวลผลสารสนเทศเบื้องต้นด้วยภาษาไพทอน ทำได้โดยใช้โมดูล pandas ช่วยในการอ่านข้อมูลประมวลผลและทำข้อมูลให้เป็นภาพ สำหรับนำไปใช้งานตามจุดประสงค์ต่าง ๆ ได้ โครงสร้างข้อมูลของ Pandas แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ Series และ DataFrame
สื่อการสอน หนังสือเรียนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (สสวท.) บทที่ 2 หน้า 20-25
วิดีทัศน์ เรื่อง ทบทวนเนื้อหา Python ม.3 EP.2 โครงสร้างข้อมูลของ Pandas วิดีทัศน์ เรื่อง ทบทวนเนื้อหา Python ม.3 EP.3 ไฟล์ข้อมูลรูปแบบ CSV
ผลการเรียนรู้ 1. พัฒนาแอปพลิเคชันที่มีการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ ชั่วโมงที่ 5-6
จุดประสงค์การเรียนรู้
วิเคราะห์ฟังก์ชันภาษาไพทอนที่ใช้ดำเนินการทำข้อมูลให้เป็นภาพ
เขียนโปรแกรมภาษาไพทอนที่ใช้ดำเนินการทำข้อมูลให้เป็นภาพ
จิตวิทยาศาสตร์ (เพียรพยายาม มีเหตุผล ละเอียดรอบคอบ)
สาระการเรียนรู้ การประมวลผลสารสนเทศเบื้องต้นด้วยภาษาไพทอน ทำได้โดยใช้โมดูล pandas ช่วยในการอ่านข้อมูลประมวลผลและทำข้อมูลให้เป็นภาพ สำหรับนำไปใช้งานตามจุดประสงค์ต่าง ๆ ได้ โครงสร้างข้อมูลของ Pandas แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ Series และ DataFrame
สื่อการสอน หนังสือเรียนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (สสวท.) บทที่ 2 หน้า 34-37
ภาระงาน กิจกรรมที่ 2.1 หน้า 37 ข้อ 1 - 3
วิดีทัศน์ เรื่อง ทบทวนเนื้อหา Python ม.3 EP.4 การเชื่อมโยงข้อมูล และการทำให้เป็นรูปภาพ
ผลการเรียนรู้ 2. พัฒนาแอปพลิเคชันที่มีการสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ชั่วโมงที่ 7-8
จุดประสงค์การเรียนรู้
วิเคราะห์ฟังก์ชันภาษาไพทอนที่ใช้ดำเนินการการสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้
เขียนโปรแกรมภาษาไพทอนที่ใช้ดำเนินการการสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้
จิตวิทยาศาสตร์ (เพียรพยายาม มีเหตุผล ละเอียดรอบคอบ)
สาระการเรียนรู้ การเขียนโปรแกรมที่มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของโปรแกรมได้ดีขึ้น ใช้งานง่าย และมีความน่าสนใจ ในภาษาไพทอน สามารถทำได้โดยการใช้ tkinter ซึ่งเป็นโมดูลที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมที่มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้
สื่อการสอน หนังสือเรียนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (สสวท.) บทที่ 2 หน้า 38-44