จุดประสงค์ (เมื่อเรียนจบ นักเรียนจะสามารถ)
อธิบายองค์ประกอบและประโยชน์ของไอโอที
อภิปรายกระบวนการทำงานของอุปกรณ์ไอโอที
อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งหรือไอโอที (Internet of Things: IoT) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า ตัวรับรู้หรือเซนเซอร์ (sensor) เข้ากับโครงข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถส่งข้อมูลที่เซนเซอร์วัดจากสภาพแวดล้อมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชี่อมอยู่กับระบบอินเตอร์เน็ตได้
1. อุปกรณ์ไอโอที (IoT device) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีความสามารถในการตรวจวัดสถานะในบริเวณที่สนใจ เช่น การเปิดหรือปิดการทำงานของอุปกรณ์
2. อุปกรณ์เกตเวย์ (gateway) เป็นอุปกรณ์ที่เป็นทางผ่านให้กับอุปกรณ์ไอโอทีเชื่อมต่อกับโครงข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น อุปกรณ์ไวเลตเราเตอร์ (WIFI)
3. เครื่องบริการ (server) หรือโบรกเกอร์ (broker) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตทำหน้าที่เป็นจุดรวบรวม ประมวลผล หรือเชื่อมโยงข้อมูล
4. อุปกรณ์ฝั่งผู้ใช้ (user device) เป็นส่วนของการแสดงผลสถานะที่ตรวจวัดได้จากอุปกรณ์ไอโอทีให้ผุ้ใช้รับทราบในรูปแบบของแอปพลิเคชัน
อุปกรณ์ไอโอที (IoT device)
อุปกรณ์เกตเวย์ (gateway)
เครื่องบริการ (server)
อุปกรณ์ฝั่งผู้ใช้ (user device)
แผงวงจร Kid-Bright
ไวเลสเราเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เกตเวย์
หน้าจอแสดงสถานนะของอุปกรณ์ไอโอทีที่เชื่อมต่อกับระบบเน็ตพาย
อุหน้าจอแอปพลิเคชัน IoT MQTT Panel
กลไกการสื่อสาร
กลไกหนึ่งที่นำมาใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูล คือ กลไกเอ็มคิวทีที (Message Queue Telemetry Transport: MQTT) ซึ่งอนุญาตให้อุปกรณ์ไอโอทีสื่อสารกับผ่านเครื่องส่วนกลางที่เรียกว่า โบรกเกอร์
การศึกษาความต้องการ
ตรวจสอบและประเมินความชื้นของดิน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ดินแห้ง ดินปกติ และดินเปียก
รายงานผลความชื้นของดินเข้าสู่ระบบ
เมื่อพบว่าดินแห้งให้มีการเปิดปั้มน้ำรดน้ำลงดิน
สามารถรดน้ำได้ด้วยตนเองจากแอปพลิเคชัน
ออกแบบ
ออกแบบระบบ ตามภาพด้านซ้าย
สร้างแอปพลิเคชัน
การทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบที่สร้างขึ้นทำงานได้ตรงตามความต้องการ เช่น ปักเซนเซอร์ลงดินแห้ง